Monday, 6 December 2010

ความหมายของคำว่า "ส้วม"




ความหมายของ “ส้วม” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต มีความหมายถึง ที่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ (ภาษาชาวบ้านเรียกว่า "ที่อึและที่ฉี่") ซึ่งคำว่า "ส้วม" เป็นคำเก่าแก่ที่ใช้กันมาตั้งแต่ก่อนสมัยรัตนโกสินทร์  จากหนังสือ "ส้วมและเครื่องสุขภัณฑ์ในประเทศไทย" ของมนฤทัย ไชยวิเศษ ได้แจกแจงความหมายของคำว่า "ส้วม" ไว้ดังนี้


------------------------------------------------------------------------------

คำว่าส้วมในภาษาล้านนามีความหมายว่า "หิ้งบูชา หรือที่นอนของพระ" โดยเฉพาะของเจ้าอาวาส ส่วนทางอีสานหรือลาว คำว่า "ส้วม" จะหมายถึง ห้องนอนของลูกสาวหรือเจ้าบ่าว-เจ้าสาวด้วย ส่วนคำอื่นที่มีความหมายว่าส้วม เช่น ห้องสุขา เวจ (เว็จ) ถาน (ส้วมของพระ) สีสำราญ และอุโมงค์ (สองคำหลังเป็นคำเรียกสถานที่ขับถ่ายของผู้หญิงที่อยู่ในวังหรือผู้หญิงชาววังที่มิใช่เจ้านาย) แต่สำหรับเจ้านายชั้นสูงหรือกษัตริย์จะใช้คำว่า "ห้องบังคน" เป็นคำที่มาจากภาษาเขมร ส่วนในปัจจุบัน คำว่า "ห้องส้วม" หรือ "ห้องสุขา" มักจะหมายถึง ห้องหับเล็ก ๆ ที่มิดชิด มีส่วนประกอบคือโถนั่งแบบชักโครก หรือส้วมที่ต้องนั่งยอง ๆ


— มนฤทัย ไชยวิเศษ

-------------------------------------------------------------------------------

คำว่า “สุขา” น่าจะมาจากชื่อของ "กรมศุขาภิบาล" ที่ก่อตั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกสั้น ๆ ว่า "กรมศุขา" (มีความหมายถึง การบำรุงรักษาความสุข) และมีการเปลี่ยนคำเขียนเป็น สุขาภิบาล ดังนั้นห้องสุขาภิบาลหรือที่เรียกอย่างย่อว่า ห้องสุขา มีความหมายว่า "ห้องที่สร้างโดยสุขาภิบาลสำหรับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ" โดยมีหน่วยงานกรมศุขาภิบาลทำหน้าที่ในการรักษาความสะอาดของพระนครและป้องกันโรคระบาดในสมัยนั้น



ที่มา: วิกิพิเดีย

No comments:

Post a Comment