Monday, 6 December 2010

The Muddy Road


Zen Monks on pilgrimage - art by Sato Zenchu


Tanzan and Ekido were once travelling together down a muddy road. A heavy rain was still falling. Coming around a bend, they met a lovely girl in a silk kimono and sash, unable to cross the intersection.

“Come on, girl,” said Tanzan at once.

Lifting her in his arms, he carried her over the mud.

Ekido did not speak again until that night when they reached a lodging temple. Then he no longer could restrain himself.

We monks can’t be near females,” he told Tanzan, “especially not young and lovely ones. It is dangerous. Why did you do that?”

“I left the girl there,” said Tanzan. “Are you still carrying her?”

ความหมายของคำว่า "ส้วม"




ความหมายของ “ส้วม” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต มีความหมายถึง ที่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ (ภาษาชาวบ้านเรียกว่า "ที่อึและที่ฉี่") ซึ่งคำว่า "ส้วม" เป็นคำเก่าแก่ที่ใช้กันมาตั้งแต่ก่อนสมัยรัตนโกสินทร์  จากหนังสือ "ส้วมและเครื่องสุขภัณฑ์ในประเทศไทย" ของมนฤทัย ไชยวิเศษ ได้แจกแจงความหมายของคำว่า "ส้วม" ไว้ดังนี้


------------------------------------------------------------------------------

คำว่าส้วมในภาษาล้านนามีความหมายว่า "หิ้งบูชา หรือที่นอนของพระ" โดยเฉพาะของเจ้าอาวาส ส่วนทางอีสานหรือลาว คำว่า "ส้วม" จะหมายถึง ห้องนอนของลูกสาวหรือเจ้าบ่าว-เจ้าสาวด้วย ส่วนคำอื่นที่มีความหมายว่าส้วม เช่น ห้องสุขา เวจ (เว็จ) ถาน (ส้วมของพระ) สีสำราญ และอุโมงค์ (สองคำหลังเป็นคำเรียกสถานที่ขับถ่ายของผู้หญิงที่อยู่ในวังหรือผู้หญิงชาววังที่มิใช่เจ้านาย) แต่สำหรับเจ้านายชั้นสูงหรือกษัตริย์จะใช้คำว่า "ห้องบังคน" เป็นคำที่มาจากภาษาเขมร ส่วนในปัจจุบัน คำว่า "ห้องส้วม" หรือ "ห้องสุขา" มักจะหมายถึง ห้องหับเล็ก ๆ ที่มิดชิด มีส่วนประกอบคือโถนั่งแบบชักโครก หรือส้วมที่ต้องนั่งยอง ๆ


— มนฤทัย ไชยวิเศษ

-------------------------------------------------------------------------------

คำว่า “สุขา” น่าจะมาจากชื่อของ "กรมศุขาภิบาล" ที่ก่อตั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกสั้น ๆ ว่า "กรมศุขา" (มีความหมายถึง การบำรุงรักษาความสุข) และมีการเปลี่ยนคำเขียนเป็น สุขาภิบาล ดังนั้นห้องสุขาภิบาลหรือที่เรียกอย่างย่อว่า ห้องสุขา มีความหมายว่า "ห้องที่สร้างโดยสุขาภิบาลสำหรับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ" โดยมีหน่วยงานกรมศุขาภิบาลทำหน้าที่ในการรักษาความสะอาดของพระนครและป้องกันโรคระบาดในสมัยนั้น



ที่มา: วิกิพิเดีย

ถอดรหัสความยิ่งใหญ่ "เพลงสรรเสริญพระบารมี" เพลงพ่อของชนชาวไทย







ในยุคที่มีคนเปรียบเปรยว่าเราอยู่ในยุค “นกแก้วนกขุนทอง” คือ “ยุคทองแห่งการท่องจำ” ไม่ใช่ “ยุคใช้สติไถ่ถามเพื่อหาเหตุผล” เนื่องในโอกาสวันพิเศษวันพ่อแห่งชาติ วันที่ 5 ธันวาปีนี้ ไทยรัฐออนไลน์ เชิญผู้เชี่ยวชาญมาถอดรหัสความยิ่งใหญ่ของ “เพลงสรรเสริญ” ให้ชาวไทยยุคนกแก้วนกขุนทองทุกคนได้เข้าใจ...


เรื่องนี้ รศ.ดร.ดวงมน จิตรจำนงค์ อาจารย์ภาควิชาภาษาไทยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี เมธีอาวุโส สกว.สาขาวรรณคดี ปี 2547 อีกทั้งยังเป็นปูชนียบุคคลด้านภาษาไทยดีเด่นประจำปีล่าสุด ถอดรหัสความหมาย เพลงนี้มีความหมายที่ดีและลึกซึ้งมากๆ ว่าข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอกราบไว้พระองค์ผู้มีบุญญาธิการ ซึ่งพระองค์ที่ปกครองปวงชนให้เป็นสุข ด้วยใบบุญของพระองค์ประชาชนจึงสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงขอบันดาลให้พระองค์สมประสงค์ในทุกสิ่ง เป็นการถวายพระพรชัยแด่พระองค์


ที่นี้ลองมาไล่กันดูที่ละประโยค

ข้าวรพุทธเจ้า… หมายถึง ข้าพเจ้าทั้งหลาย ซึ่งเป็นข้าของพระองค์ผู้ประดุจดังพระพุทธเจ้า โดยพระพุทธเจ้าในที่นี้ก็คือ เป็นผู้ตรัสรู้และโปรดมวลมนุษย์ให้บรรลุธรรม ให้พ้นจากกิเลส เพราะในมโนทัศน์ของไทยโบราณถือว่ากษัตริย์คือพระโพธิสัตว์


เอามโนและศิระกราน... หมายถึง ขอเอาดวงใจและศีรษะก้มน้อมกราบ


นบพระภูมิบาล บุญดิเรก... หมายถึง ขอนบไหว้พระผู้ปกครองแผ่นดิน ผู้มีบุญญาธิการอันใหญ่หลวง


เอกบรมจักริน... หมายถึง ทรงเป็นวงศ์แห่งพระจักรีอันประเสริฐ


พระสยามินทร์... หมายถึง เป็นผู้เป็นใหญ่แห่งสยาม


พระยศยิ่งยง... หมายถึง เกียตริยศของพระองค์นั้นยิ่งใหญ่และยืนนาน


เย็นศิระเพราะพระบริบาล... หมายถึง พวกเราจึงร่มเย็นด้วยการปกครองของพระองค์


ผลพระคุณ ธ รักษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์... หมายถึง พระคุณของพระองค์มีผลรักษาปวงประชาให้เป็นสุข


ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด... หมายถึง ขอพระคุณนั้น บันดาลให้สิ่งที่พระองค์ประสงค์สำเร็จตามความปรารถนา


จงสฤษฎ์ดัง หวังวรหฤทัย... หมายถึง ขอให้ได้ดังใจหวัง


ดุจถวายชัย ชโย...หมายถึง ดังที่ได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัย



อาจารย์ภาควิชาภาษาไทย ย้ำว่าคนที่รู้ความหมายของเพลงสรรเสริญพระบารมี เมื่อร้องเพลงความรู้สึกจะรับรู้ได้ว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่มาของความผาสุกของแผ่นดิน เขาก็จะเกิดความจงรักภักดี และซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ แต่ถ้าใครที่ทำเป็นกิจวัตรประจำวัน เหมือนกับว่าชินแล้วก็อาจจะไม่ค่อยได้คำนึงถึงความหมาย


“ถามว่าความหมายของเพลงเป็นข้อจำกัดไหม จริงๆ อยากจะบอกว่าเวลาร้องเพลงก็จะเกิดความทราบซึ้ง แต่ว่าความทราบซึ้งมันก็คงว่าด้วยการศึกษา ซึ่งเราคงไม่โทษเด็ก แต่คงเป็นระบบการศึกษามากกว่า ว่าเขาสอนกันยังไง บางทีครูใช้อำนาจบังคับมากก็ไปกันใหญ่ เด็กและวัยรุ่นไม่ชอบการบังคับ ดังนั้นควรที่จะสร้างสติปัญญาและสร้างความแข็งแกร่งของจิตวิญญาณให้พวกเขาเข้าใจในเพลงนี้จะดีกว่าเพราะเพลงนี้นับได้ว่ายิ่งใหญ่และมีความไพเราะ ที่สำคัญยังสร้างความเป็นเอกภาพ และเป็นศูนย์รวมของจิตใจของคนไทยด้วย เวลาที่เราร้องเพลง เรารู้สึกภูมิใจ เพราะเราเข้าใจความหมาย สมมติว่าเราฟังเพลงทุกวันนี้ถ้าเข้าใจความหมาย ก็จะซาบซึ้งกับเพลงนั้น เหมือนวัยรุ่นในปัจจุบันที่ฟังเพลงแล้วชื่นชอบ”


สุดท้าย สุดยอดนักภาษาไทยของเมืองไทยกล่าวเคล็ดลับทิ้งท้ายด้วยว่า เวลาจะร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี หรือเพลงใดก็แล้วแต่ คนที่ร้องก็ต้องเข้าใจความหมายที่แท้จริงของเพลงด้วย เพลงนั้นถึงจะซาบซึ้งไปถึงจิตใจของเรา


ด้านนายบัณฑิต อึ้งรังษี วาทยากรชาวไทยที่มีชื่อเสียงในระดับโลกที่เคยคอนดักเตอร์ “เพลงสรรเสริญพระบารมี” มากมาย กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของเพลงสรรเสริญพระบารมีให้ฟังพอสังเขปว่า ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ที่เมืองไทยได้มีการเริ่มแต่งเพลงสรรเสริญพระบารมีของเรามาใช้เอง เพราะก่อนหน้านั้นเราใช้ God Save the King ของประเทศอังกฤษ และเพลงสรรเสริญพระบารมีที่เราใช้กันอยู่ตอนนี้แต่งโดยชาวรัสเซีย ซึ่งแต่งออกมาได้ไพเราะมาก ส่วนความหมายของเพลงเข้าใจว่าเนื้อหาใจความก็คือสรรเสริญความยิ่งใหญ่ของกษัตริย์ที่ทำให้ปวงชนอยู่อย่างผาสุก


“เมื่อไม่นานนี่ ผมมีโอกาสได้คอนดักฯ เพลงสรรเสริญพระบารถึง 9 รอบ ซึ่งเวอร์ชั่นที่ผมเล่นมันน่าตื่นเต้น เพราะมีคนร้องตั้ง 150 กว่า คน วงออร์เคสตราก็มีประมาณ 300 คน สำหรับผมเกิดมาไม่เคยทำอะไรแบบนี้มาก่อน รู้สึกตื่นเต้น แต่รู้สึกสนุกมากกว่า เพราะได้ทำสิ่งที่ตัวเองรัก และได้มีโอกาสคอนดักเพลงที่ตัวเองชอบ ที่สำคัญได้ถวายเกียรติในหลวง ซึ่งมีคนไทยมาร้องร่วมกันหลายคน รวมถึงคนดูก็ร้องเพลงสรรเสริญด้วย ผมเองก็หันไปคอนดักคนดูด้วยกลายเป็นวงคอรัสที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่ผมเคยคอนดักมา สำหรับความหมายและทำนองผมว่าเร้าใจมาก โดยเฉพาะตอนสุดท้ายที่โน้ตขึ้นสูงผมรู้สึกขนลุก แล้วเวลา "ดุจถวายชัย ชโย...." ท่อนนี้แหละที่ผมคอนดักทีไรก็ขนลุกทุกครั้ง โดยเฉพาะถ้าคอนดักเตอร์สามารถดึงจังหวะให้ช้าลงเยอะๆ มันจะทำให้เร้าใจยิ่งขึ้น เป็นเทคนิคที่ผมใช้”


วาทยากรระดับโลก กล่าวถึงพระมหากษัตริย์ไทยด้วยว่า ถ้าเป็นนักดนตรีในประเทศนี้ ต้องได้รับอิทธิพลบางอย่างจากในหลวง ซึ่งเป็นนักดนตรี และเราก็ได้ฟังเพลงของพระองค์ท่านมาตั้งแต่เกิด


“ผมก็เหมือนกับคนไทยทุกคน ที่มีพระองค์ทรงเป็นแรงบันดาลใจ เพราะว่าพระองค์ให้ความสำคัญกับดนตรีมาก แล้วพระองค์ก็ทรงตรัสเสมอว่าดนตรีเป็นสิ่งที่ดี และสนับสนุนให้คนไทยได้ฟังดนตรีดีๆ ได้เล่นดนตรี พูดง่ายๆ คือเราโชคดีที่มีพระมหากษัตริย์เช่นนี้ เพราะไม่ใช่ทุกประเทศที่จะได้มีพระมหากษัตริย์เช่นนี้ ซึ่งพระองค์ตั้งพระทัยทำงาน และเป็นต้นแบบที่ดีในหลายๆ ด้านให้กับประชาชน ในต่างประเทศเองเขาก็สนใจที่เรามีพระมหากษัตริย์ที่สนใจในด้านดนตรีขนาดนี้ เพราะไม่ค่อยมีกษัตริย์ที่สนใจในด้านนี้สักเท่าไหร่ ในประวัติศาสตร์มีเพียงแค่ 2-3 พระองค์ที่เล่นดนตรีได้ แต่กษัตริย์ที่แต่งเพลง มีเพียงพระองค์เดียวในโลก ซึ่งก็คือในหลวงของเรา "


สุดท้าย คอนดักเตอร์คนไทยฝีมือระดับโลก กล่าวถวายความจงรักภักดีต่อในหลวงเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา


“ข้าพระพุทธเจ้าอยากจะขอบพระทัยพระองค์ที่ทรงเป็นต้นแบบให้กับนักดนตรีทุกคนในประเทศนี้ สุดท้ายขอถวายพระพรให้พระองค์สุขภาพดีตลอดไป”



ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์



Sunday, 5 December 2010

King of Kings

ทำนอง : พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
เนื้อร้อง : สุรักษ์ สุขเสวี
อัลบั้ม : H.M.BLUES
Arranger: พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
Vocals: รวมศิลปิน






เหนือบัลลังก์ราชัน ใต้ไตรรงค์ธงไทย โลกระบือลือไกล

กษัตราผู้เปี่ยมน้ำพระทัย ผู้ครองแผ่นดินนี้

พระทรงคอยปัดเป่า ทุกข์และความกังวล หลอมรวมใจปวงชน

ประหนึ่งดังพระนามภูมิพล มหาราชเกริกไกร



โลกต่างชื่นชมพระบารมี ล้ำศักดิ์เลิศศรีไปยังแดนไกล

สูงส่งทัดเทียมเทพไท สดุดีไว้ หนึ่งเดียวนี้



* King of Kings, King of Kings

ปกครองไพร่ฟ้า ด้วยความรัก ด้วยธรรมโดยแท้จริง

King of Kings, King of Kings

ราชันผู้ยิ่งใหญ่ ก้องไปทั้งฟ้าดิน

พระทรงครองในทศพิธราชธรรม พระชี้นำให้มีความรักและสามัคคี

King of Kings.



พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อย ทุกข์พระวรกาย เพื่อปวงชนชาวไทย

ได้อยู่บนผืนแผ่นดินร่มเย็น ยั่งยืนสืบไป